เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2566 น.ส.รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวางแผนโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY ประมาณการการขยายตัวเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 2566 ไว้ที่ 3.3% และบัญชีเดินสะพัดในช่วงที่เหลือของปีนี้ อยู่ที่ 8,000 ล้านเหรียญ ถือเป็นพัฒนาการที่ดีขึ้นหลังผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ในช่วง 2021-2022 ที่ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยจนทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด

SCB EIC คงเป้าจีดีพีไทย โต 3.9% ส่งออกไม่สดใส คาดปีนี้ดอกเบี้ยขึ้นอีก 2 ครั้ง

หนี้ กยศ. ดันหนี้ครัวเรือนพุ่งแตะ 16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.6% ต่อจีดีพี

ตลาดทุนอยากให้รีบเลือกนายกฯ รัฐบาลใหม่มีเสถียรภาพ ช่วยดึงเม็ดเงินต่างชาติกลับ

ทั้งนี้ปัจจัยส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 66 คือ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ยังไม่มีความชัดเจน หากยังไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้หลังวันที่ 13 ก.ค. ซึ่งจะทำให้ตลาดขาดความมั่นใจ รวมถึงมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่อาจยังมีความคลุมเครือ ส่วนภาคการท่องเที่ยวไทยในในครึ่งปีหลัง 66 มองว่าจะดีขึ้นต่อเนื่อง แต่จำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับไปสู่ระดับก่อนโควิด คาดว่าภายในปี 68คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ของไทย ล่าสุด เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.23% ต่ำสุดในรอบ 12 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ซึ่งมุมมองอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังคงส่งสัญญาณจะปรับขึ้นต่อ เนื่องจากต้องการสร้างขีดความสามารถทางนโยบาย และกังวลนโยบายประชานิยมของรัฐบาลใหม่ทั้งพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย ที่อาจกระตุ้นให้เงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวสูงขึ้นได้อีก

อย่างไรก็ตาม ธ.กรุงศรีฯ คาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของ ธปท. จะปรับดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง เพิ่มขึ้น 0.25% สู่ระดับ 2.25% ภายในปี 66

"อัตราดอกเบี้ยของไทย เราดูว่าใกล้สุดทางแล้วเหมือนกัน เพราะว่าแบงก์ชาติปรับขึ้นมาพอสมควรที่ 2% สูงสุดในรอบ 8 ปี อย่างไรก็ตามโทนของการสื่อสารของผู้ทำนโยบายอาจต้องการไปต่ออีกสักนิดนึง ด้วยเหตุผลต้องการสร้างพื้นที่ไว้สำหรับเผื่อในอนาคตเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน หรือภาวะเศรษฐกิจซบเซาลงมา เขาก็จะมีพื้นที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงมาได้ ประเด็นสอง เงินเฟ้อพื้นฐานแม้อยู่ระดับค่อนข้างต่ำ แต่ทางแบงก์ชาติก็มองว่า เที่ยบกับค่าเฉลี่ยนในอดีตดูแล้วค่อนข้างจะสูง และนโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลใหม่อาจจะสร้างผลกระทบให้เงินเฟ้อพื้นฐานค้างในระดับสูง"น.ส.รุ่งกล่าว

สำหรับทิศทางค่าเงินบาทไทย ในไตรมาส 4 ปี 66 มองว่าแนวโน้มแข็งค่า ต่ำสุด 32.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 33.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่อาจมีความผันผวนจากดอกเบี้ยโลกที่ยังสูงอยู่ โดยกรุงศรี ประเมินปัจจัยหลักธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ใกล้จะหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่เงินเฟ้อพื้นฐานยังคงลดลงช้า ทำให้ตลาดคาดว่าการลดดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นในปี 67 และความคาดหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนในระยะข้างหน้ารวมถึงการเมืองไทยหากมีความชัดเจนมากขึ้นอาจจะดึงดูดเม็ดเงินลงทุนไหลกลับเข้ามาได้

“ปัจจัยที่สร้างความผันผวนให้กับค่าเงินบาท อย่างแรกการคาดการณ์นโยบายดอกเบี้ยสหรัฐ อันนี้เราให้น้ำหนักหลัก 80% และปัจจัยรองเรื่องของราคาทองคำในตลาดโลกซึ่งอาจจะเข้ามาสร้างความผันผวนเป็นระยะ ส่วนปัจจัยด้านการเมืองไม่ได้สร้างความผันผวนให้กับค่าเงินมากเท่าไหร่ อาจเป็นในลักษณะซึม ๆ และแกว่งตัวรอมากกว่า”น.ส.รุ่งกล่าว

 “กรุงศรี” คงเป้าจีดีพีไทยโต 3.3% การเมืองกระทบเศรษฐกิจ คาดเงินบาทสิ้นปี 33.75

By admin